นักวิทย์พบคำตอบแล้ว! “แพนด้าสีน้ำตาล-ขาว” เกิดจากสาเหตุอะไร
แม้เรามักจะเรียกประเทศจีนว่าเป็นแดนมังกร แต่สัตว์ที่เป็นมาสคอตที่หลายคนนึกถึง เชื่อว่าเกือบร้อยทั้งร้อยจะต้องเป็น “แพนด้ายักษ์” (Giant Panda) อย่างแน่นอน เนื่องจากสีขาว-ดำอันเป็นเอกลักษณ์ และความนุ่มฟูน่ารักน่ากอดของมัน
แพนด้ายักษ์ยังเป็นสัตว์ที่หลายคนมองว่าเป็นตัวแทนของธรรมชาติและจักรวาล เพราะมีสีเหมือนกับ “หยินหยาง” หรือสัญลักษณ์ที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสมดุลของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล
และในขณะที่ภาพจำของผู้คนทั่วโลกฝังติดอยู่กับสีขาวและดำนั้น รู้หรือไม่ว่า “มีแพนด้ายักษ์สีอื่นอยู่ด้วย”
แพนด้ายักษ์สีแปลกดังกล่าวจะมี “ขนสีน้ำตาล-ขาว” พบเห็นตามธรรมชาติได้ยากมาก เพราะอาศัยอยู่แค่เพียงบริเวณเทือกเขาฉินหลิ่ง (Qinling) ของประเทศจีนแค่ที่เดียวบนโลก
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์อาจค้นพบสาเหตุแล้วว่า อะไรคือสาเหตุของสีขนที่แปลกตานั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
งานวิจัยนี้การศึกษาพันธุศาสตร์ของแพนด้าหลายตัวทั้งที่อยู่ในป่าธรรมชาติและที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรง ผลชี้ให้เห็นว่า แพนด้าที่มีขนสีน้ำตาลและสีขาวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ใช่สัญญาณของการผสมพันธุ์ในจำนวนประชากรที่ลดน้อยลง
แพนด้าสีน้ำตาลตัวแรกที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักคือแพนด้าตัวเมียชื่อ “ตันตัน” (Dandan) ที่ป่วยอยู่ในเทศมณฑลฝอผิง เทือกเขาฉินหลิ่ง เมื่อเดือน มี.ค. 1985 และถูกนำมาเลี้ยงไว้ในกรงจนตายในปี 2000
หลังจากตันตัน ก็มีการค้นพบแพนด้ายักษ์สีน้ำตาลอีกแค่ 11 ครั้งเท่านั้น บ่งบอกชัดเจนว่าพวกมันหาตัวจับยากเพียงใด
ทีมวิจัยล่าสุดบอกว่า “กรณีที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของแพนด้าสีน้ำตาลบ่งบอกว่าคุณลักษณะนี้อาจสืบทอดได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ พื้นฐานทางพันธุกรรมที่เป็นพื้นฐานของสีขนสีน้ำตาลและสีขาวยังไม่ชัดเจน”คำพูดจาก เว็บพนันออน
ดร.เหว่ย ฟู่เหวิน ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาสัตว์ป่าและชีววิทยาการอนุรักษ์ จากสถาบันสัตววิทยาแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า การทำความเข้าใจสีขนแพนด้าอาจช่วยให้ทราบถึงความพยายามในการผสมพันธุ์แพนด้าสีน้ำตาลและสีขาวในกรงเลี้ยง
เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรอยู่เบื้องหลังคุณลักษณะนี้ นักวิจัยได้ศึกษา “ชีไจ่” (Qizai) แพนด้าสีน้ำตาลตัวผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่ยังเป็นลูกแพนด้าในปี 2009 จากเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติฝอผิง ปัจจุบันชีไจ่เป็นแพนด้าสีน้ำตาลเพียงตัวเดียวบนโลกที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรง
ทีมวิจัยนำตัวอย่างเส้นขนจากแพนด้าขาว-ดำ 3 ตัวและขนของชีไจ่ มาเปรียบเทียบกันในการส่องกล่องจุลทรรศน์ และพบว่า ขนสีน้ำตาลของชีไจ่มีเมลาโนโซม (Melanosome) น้อยกว่าและเล็กกว่า
เมลาโนโซมเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่พบในเซลล์ที่รับผิดชอบผิวหนังและเม็ดสีขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งไปกว่านั้น เมลาโนโซมของแพนด้าสีน้ำตาลมีแนวโน้มที่จะมีรูปร่างผิดปกติมากกว่าด้วย
จากนั้นนักวิจัยจึงรวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรมของชีไจ่ และปะติดปะต่อลำดับวงศ์ตระกูลของมัน และพบว่าแม่ของมันเป็นแพนด้าตัวเมียสีขาว-ดำที่สวมปลอกคอติดตาม และเป็นที่รู้จักในชื่อ หนิวหนิว ส่วนพ่อของมันคือ ชีเยว่ แพนด้าขาว-ดำดุร้ายที่ได้รับการติดตาม และชีไจ่ยังมีลูกชาย 1 ตัวที่เกิดมาในปี 2020 ด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมจากสมาชิกในครอบครัวของชีไจ่ และเปรียบเทียบกับข้อมูลทางพันธุกรรมของแพนด้าขาว-ดำ 12 ตัวจากเทือกเขาฉินหลิ่ง และแพนด้าขาว-ดำ 17 ตัวจากภูมิภาคอื่น ๆ ในจีน โดยใช้ตัวอย่างเลือด
ทีมวิจัยพบว่า แม้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดของชีไจ่จะไม่มีขนสีน้ำตาล แต่พ่อแม่และลูกชายของมันล้วนมียีนด้อยที่เรียกว่า “Bace2” เพียงข้างเดียว ในขณะที่ชีไจ่มียีนดังกล่าว 2 ข้าง
ยีนของแต่ละบุคคลสามารถมีลักษณะด้อยได้ เช่น ดวงตาสีฟ้า หรือผมสีแดงในมนุษย์ แต่จะปรากฏออกมาให้เห็นชัดได้คือต้องมียืนด้อย 2 ข้าง (ตัวอย่างง่าย ๆ คืออย่างที่เราเรียนกันในวิชาชีววิทยา ให้ X เป็นยีนเด่น x เป็นยีนด้อย ถ้าจับคู่กัน Xx คือเป็นพาหะของยีนด้อย ต้องมียีนเป็น xx ลักษณะของยีนด้อยจึงจะปรากฏ)
นั่นหมายความว่า พ่อและแม่ของชีไจ่เป็นพาหะของยีนด้อย Bace2 ทั้งคู่ ทำให้ยีนด้อยถูกส่งต่อมาในตัวชีไจ่ในที่สุด
และเมื่อทีมวิจัยย้อนไปวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บไว้นานกว่า 2 ทศวรรษของตันตัน ก็พบว่า มันมีลักษณะด้อยเหมือนกัน
จากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์แพนด้ายักษ์ขาวดำ 192 ตัวในวงกว้างขึ้น เพื่อยืนยันว่ายีนที่ส่งผลต่อขนสีน้ำตาลคือ Bace2 จริง
เพื่อยืนยันการค้นพบนี้ในอีกขั้นหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ยังได้ใช้เครื่องมือแก้ไขยีนคริสเปิรฉคสไนน์ (CRISPR-Cas9) เพื่อลบลำดับทางพันธุกรรมที่พวกเขาระบุว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการกลายพันธุ์ในยีน Bace2 ในหนูทดลอง 78 ตัว และพบว่าทำให้จำนวนและขนาดของเมลาโนโซมในหนูลดลงจริง ๆ
ศ.เหว่ยกล่าวว่า “สีขนของหนูน็อกเป็นสีน้ำตาลอ่อน มันพิสูจน์ว่า การลบยีนนี้มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนสีขนของหนู เนื่องจากวิถีการสร้างเม็ดสีค่อนข้างคล้ายกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากที่การกลายพันธุ์นี้จะส่งผลต่อสีขนของแพนด้าสีน้ำตาล”
เหว่ยเสริมว่า ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรทำให้เกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม แต่คาดว่าจะต้องเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมเฉพาะของเทือกเขาฉินหลิ่ง ซึ่งมีสภาพอากาศที่แตกต่างจากเสฉวน และเชื่อว่าการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมไม่ได้เป็นผลมาจากการผสมพันธุ์ตามที่เคยสงสัยด้วย
“มีแนวโน้มว่านี่จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติมากกว่าการผสมพันธุ์ การวิเคราะห์เครือญาติของเราบ่งชี้ว่าพ่อแม่ของชีไจ่ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน” เหว่ยกล่าว
เรียบเรียงจาก CNN