ปลายปีนี้! ใช้บริการศูนย์อาหารโฉมใหม่ @สถานีกลางฯ “เปรม กรุ๊ป” ได้สิทธิพัฒนา

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า บริษัท เปรม กรุ๊ป เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวนพื้นที่ 47,675 ตารางเมตร (ตร.ม.) 20 ปี เพียงรายเดียว จากผู้ซื้อซองเอกสารประกวดราคาทั้งหมด 3 ราย ได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านผลตอบแทนจาก รฟท. แล้ว โดยบริษัทฯ ได้เสนอผลตอบแทนสูงกว่าที่ รฟท. กำหนดไว้ที่เดือนละ 60 บาทต่อ ตร.ม. ขณะนี้อยู่ระหว่างเชิญบริษัทฯ มาเจรจาในรายละเอียดเงื่อนไขให้ครบ และชัดเจนตามเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เพื่อให้ รฟท. และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

นายอนันต์ กล่าวต่อว่า จากนั้นคาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาในเดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 66 หากเห็นชอบจะดำเนินการลงนามสัญญาระหว่าง รฟท. และบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการได้ทันที เบื้องต้นให้เข้าดำเนินการ และเปิดบริการในสิ่งที่จำเป็นต่อผู้ใช้บริการก่อน อาทิ ร้านอาหาร ซึ่งบริษัทฯ ต้องปรับปรุงศูนย์อาหารในปัจจุบัน ที่ รฟท. ได้เปิดให้บริการผู้โดยสารอยู่ที่บริเวณประตู 4  ชั้น 1 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยจะมีเวลาดำเนินการประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการศูนย์อาหารโฉมใหม่แก่ผู้โดยสารได้ภายในปลายปี 66

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า ศูนย์อาหารใหม่ที่จะเกิดขึ้นที่สถานีกลางฯ จะดำเนินการโดยผู้ประกอบการรายใหม่ ส่วนจะขายอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือมีร้านอะไรบ้างนั้น เป็นหน้าที่ผู้ประกอบการฯ ที่ต้องศึกษาพฤติกรรมการผู้บริโภคว่าต้องการให้มีอาหาร และเครื่องดื่มประเภทใดบ้าง ซึ่ง รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ได้ให้เร่งดำเนินการ คาดว่าจะมีร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่มหลากหลาย รวมถึงจะมีร้านแบรนด์ดังมาเปิดให้บริการด้วย ส่วนราคาอาหาร เครื่องดื่ม จะใกล้เคียงกับห้างสรรพสินค้า อาจมีราคาสูงกว่าด้านนอก แต่จะควบคุมไม่ให้ราคาสูงเกินไป และต้องมีร้านอาหารราคาประหยัดด้วย

นายอนันต์ กล่าวด้วยว่า ส่วนอีก 3 สัญญาที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ ประกอบด้วย 1.สัญญาโครงการยื่นข้อเสนอเพื่อใช้สิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวนพื้นที่2,303ตร.ม., 2.สัญญาโครงการยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง12สถานี ได้แก่ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ สถานีบางซ่อน สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต จำนวนพื้นที่3,759ตร.ม.

และ 3.สัญญาโครงการยื่นข้อเสนอเพื่อใช้สิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง 12 สถานี จำนวนพื้นที่ 2,080 ตร.ม. นั้น ทาง รฟท. จะเปิดประกวดราคาอีกครั้ง เป็นรอบที่ 2 ภายในปี 66 โดยใช้เงื่อนไขการประกวดราคาเดิม ทั้งนี้หากรอบนี้ไม่มีบริษัทเอกชนรายใดสนใจเข้ายื่นข้อเสนออีก เบื้องต้น รฟท. มีแนวทางให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท. ดูแลไปก่อนในระหว่างรอเปิดประกวดราคางานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะเป็นการลงทุนในรูปแบบร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP).