คนไทยก่อหนี้ท่วม 14.90 ล้านล้านบาท เฝ้าระวังตกชั้นเป็นหนี้เสียเพิ่ม

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในไทยยังคงน่ากังวล เพราะหนี้ที่เร่งตัวสูงขึ้นอยู่ท่ามกลางปัจจัยกดดันครัวเรือน โดยเฉพาะด้านรายได้ หลังจากโควิด-19 ได้คลี่คลาย บวกกับการเจอกับราคาสินค้าที่แพง ค่าครองชีพสูง แม้กระทั่งภาระดอกเบี้ยของคนที่เป็นหนี้ก็ยังมาเพิ่มขึ้น ทำให้ภาระรายจ่ายของครัวเรือน เพิ่มขึ้นเร็วมากกว่ารายได้ที่เข้ามา

ล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้เปิดเผยตัวเลขหนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 3 ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ที่มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงยังมีลูกหนี้ที่มีสถานะดีและกลายเป็นหนี้เสียจากผลกระทบของโควิด-19 มากขึ้น

ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนไตรมาส 3 ปี 2565 มีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก 3.5% ของไตรมาสก่อน เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 86.8% ลดลงจาก 88.1% จากไตรมาสที่ผ่านมาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัว โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไตรมาส 4 ปี 2565 มีสัดส่วน 2.62% ต่อสินเชื่อรวม เมื่อพิจารณาสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (SML) หรือสินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน พบว่า สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษในสินเชื่อรถยนต์ มีสัดส่วนสูงถึง 13.7% ของสินเชื่อรวมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้ จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า ลูกหนี้ NPL จากผลกระทบของโควิด-19 ยังมีปริมาณมาก แม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลง ซึ่งในระยะถัดไปมีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ คือ 1) การเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดชำระหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการตกชั้นของลูกหนี้ที่มีจำนวนมาก และ 2) การมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เสียจากผลกระทบของโควิด-19 เพื่อลดจำนวนลูกหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้น