สรรพสามิต เปิดพิกัดภาษีใหม่ รอเก็บภาษี เบียร์ เหล้า 0% บุหรี่ไฟฟ้า ปี66
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 66 กรมฯ มีแผนทบทวน และศึกษาจัดทำพิกัดอัตราภาษีในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม 6 รายการ ประกอบด้วย 1. น้ำมันไบไอเจ็ต 2.ไบไอพลาสติก 3.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 4.เหล้าแอลกอฮอล์ 0% 5.เบียร์แอลกอฮอล์ 0% และ 6.บุหรี่ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายในปีนี้ พร้อมกับตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ที่ 567,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 65 ที่คาดว่าจะเก็บรายได้ที่ 500,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของภาษีเหล้า-เบียร์ ที่มีแอลกอฮอล์ 0% ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดพิกัดภาษีสรรพสามิตโดยเฉพาะ จึงจะมีการจัดทำเป็นพิกัดใหม่ขึ้นมา โดยมีแนวทางว่าจะเก็บอัตราภาษีให้ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่สูงกว่าเครื่องดื่มทั่วไป เพราะมองว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% จะช่วยลดปัญหาสุขภาพของผู้ดื่มได้ อีกทั้งระยะหลังคนรุ่นใหม่หันมาดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากขึ้น ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้า ปัจจุบันยังเป็นสินค้าต้องห้าม แต่ก็ยังพบมีการลักลอบขายผ่านทางออนไลน์จำนวนมาก ดังนั้น กรมฯ จะเข้าไปกำหนดพิกัดอัตราภาษี เพื่อให้มีอำนาจเข้าไปช่วยดำเนินการปราบปรามจับกุมได้
ส่วนสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จะกำหนดพิกัดอัตราภาษี น้ำมันไบโอเจ็ต และไบโอพลาสติก เพื่อช่วยส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะระยะต่อไปน้ำมันเจ็ตที่ใช้ในเครื่องบินจะหันมาใช้ไบโอดีเซลมาผสม เพื่อช่วยลดมลพิษ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นำสินค้าเกษตรมาแปรรูปในการผลิต เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรด้วย เช่นเดียวกับ ภาษีแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันกรมเก็บภาษีที่ 8% แต่ในปี 66 กรมจะมีการทบทวนใหม่ หากเป็นแบตเตอรี่ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ อาจไม่เก็บภาษีหรือเก็บภาษีให้ถูกลงส่วนแบตเตอรี่ที่รีไซเคิลไม่ได้ จะจัดเก็บอัตราภาษีแพงขึ้น
“หลักการของกรม หากสินค้าใดบริโภคแล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็จะเสียภาษีสูงกว่า สินค้าที่ใช้แล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณการรักษาสุขภาพของประชาชนมากกว่า 100,000 ล้านบาท กรมจึงต้องการเข้าไปช่วยป้องกันในส่วนนี้ เช่นเดียวกัน หากเป็นสินค้าทำลายสิ่งแวดล้อม ก็ต้องเก็บภาษีสูงขึ้น” คำพูดจาก เว็บพนันออนไลน์
นายเอกนิติ กล่าวว่า การศึกษาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ เป็นการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ อีเอสจี ซึ่งจะช่วยวางรากฐานให้เศรษฐกิจ และสังคม โดยปัจจุบัน มี 4 เทรนด์ที่ท้าทายต่อการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต ได้แก่ 1. การฟื้นตัวจากโควิด ท่ามกลางสงครามการค้าและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคธุรกิจและผู้บริโภค 3. สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้ธุรกิจด้านสุขภาพมีการเติบโตมากขึ้น และ 4คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกทำให้ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สู่ความยั่งยืนในอนาคต