นักวิทย์พบคำตอบแล้ว! “แพนด้าสีน้ำตาล-ขาว” เกิดจากสาเหตุอะไร

แม้เรามักจะเรียกประเทศจีนว่าเป็นแดนมังกร แต่สัตว์ที่เป็นมาสคอตที่หลายคนนึกถึง เชื่อว่าเกือบร้อยทั้งร้อยจะต้องเป็น “แพนด้ายักษ์” (Giant Panda) อย่างแน่นอน เนื่องจากสีขาว-ดำอันเป็นเอกลักษณ์ และความนุ่มฟูน่ารักน่ากอดของมัน

แพนด้ายักษ์ยังเป็นสัตว์ที่หลายคนมองว่าเป็นตัวแทนของธรรมชาติและจักรวาล เพราะมีสีเหมือนกับ “หยินหยาง” หรือสัญลักษณ์ที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสมดุลของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล

และในขณะที่ภาพจำของผู้คนทั่วโลกฝังติดอยู่กับสีขาวและดำนั้น รู้หรือไม่ว่า “มีแพนด้ายักษ์สีอื่นอยู่ด้วย”

แพนด้ายักษ์สีแปลกดังกล่าวจะมี “ขนสีน้ำตาล-ขาว” พบเห็นตามธรรมชาติได้ยากมาก เพราะอาศัยอยู่แค่เพียงบริเวณเทือกเขาฉินหลิ่ง (Qinling) ของประเทศจีนแค่ที่เดียวบนโลก

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์อาจค้นพบสาเหตุแล้วว่า อะไรคือสาเหตุของสีขนที่แปลกตานั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

งานวิจัยนี้การศึกษาพันธุศาสตร์ของแพนด้าหลายตัวทั้งที่อยู่ในป่าธรรมชาติและที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรง ผลชี้ให้เห็นว่า แพนด้าที่มีขนสีน้ำตาลและสีขาวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ใช่สัญญาณของการผสมพันธุ์ในจำนวนประชากรที่ลดน้อยลง

แพนด้าสีน้ำตาลตัวแรกที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักคือแพนด้าตัวเมียชื่อ “ตันตัน” (Dandan) ที่ป่วยอยู่ในเทศมณฑลฝอผิง เทือกเขาฉินหลิ่ง เมื่อเดือน มี.ค. 1985 และถูกนำมาเลี้ยงไว้ในกรงจนตายในปี 2000

หลังจากตันตัน ก็มีการค้นพบแพนด้ายักษ์สีน้ำตาลอีกแค่ 11 ครั้งเท่านั้น บ่งบอกชัดเจนว่าพวกมันหาตัวจับยากเพียงใด

ทีมวิจัยล่าสุดบอกว่า “กรณีที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของแพนด้าสีน้ำตาลบ่งบอกว่าคุณลักษณะนี้อาจสืบทอดได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ พื้นฐานทางพันธุกรรมที่เป็นพื้นฐานของสีขนสีน้ำตาลและสีขาวยังไม่ชัดเจน”คำพูดจาก เว็บพนันออน

ดร.เหว่ย ฟู่เหวิน ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาสัตว์ป่าและชีววิทยาการอนุรักษ์ จากสถาบันสัตววิทยาแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า การทำความเข้าใจสีขนแพนด้าอาจช่วยให้ทราบถึงความพยายามในการผสมพันธุ์แพนด้าสีน้ำตาลและสีขาวในกรงเลี้ยง

เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรอยู่เบื้องหลังคุณลักษณะนี้ นักวิจัยได้ศึกษา “ชีไจ่” (Qizai) แพนด้าสีน้ำตาลตัวผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่ยังเป็นลูกแพนด้าในปี 2009 จากเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติฝอผิง ปัจจุบันชีไจ่เป็นแพนด้าสีน้ำตาลเพียงตัวเดียวบนโลกที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรง

ทีมวิจัยนำตัวอย่างเส้นขนจากแพนด้าขาว-ดำ 3 ตัวและขนของชีไจ่ มาเปรียบเทียบกันในการส่องกล่องจุลทรรศน์ และพบว่า ขนสีน้ำตาลของชีไจ่มีเมลาโนโซม (Melanosome) น้อยกว่าและเล็กกว่า

เมลาโนโซมเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่พบในเซลล์ที่รับผิดชอบผิวหนังและเม็ดสีขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งไปกว่านั้น เมลาโนโซมของแพนด้าสีน้ำตาลมีแนวโน้มที่จะมีรูปร่างผิดปกติมากกว่าด้วย

จากนั้นนักวิจัยจึงรวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรมของชีไจ่ และปะติดปะต่อลำดับวงศ์ตระกูลของมัน และพบว่าแม่ของมันเป็นแพนด้าตัวเมียสีขาว-ดำที่สวมปลอกคอติดตาม และเป็นที่รู้จักในชื่อ หนิวหนิว ส่วนพ่อของมันคือ ชีเยว่ แพนด้าขาว-ดำดุร้ายที่ได้รับการติดตาม และชีไจ่ยังมีลูกชาย 1 ตัวที่เกิดมาในปี 2020 ด้วย

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมจากสมาชิกในครอบครัวของชีไจ่ และเปรียบเทียบกับข้อมูลทางพันธุกรรมของแพนด้าขาว-ดำ 12 ตัวจากเทือกเขาฉินหลิ่ง และแพนด้าขาว-ดำ 17 ตัวจากภูมิภาคอื่น ๆ ในจีน โดยใช้ตัวอย่างเลือด

ทีมวิจัยพบว่า แม้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดของชีไจ่จะไม่มีขนสีน้ำตาล แต่พ่อแม่และลูกชายของมันล้วนมียีนด้อยที่เรียกว่า “Bace2” เพียงข้างเดียว ในขณะที่ชีไจ่มียีนดังกล่าว 2 ข้าง

ยีนของแต่ละบุคคลสามารถมีลักษณะด้อยได้ เช่น ดวงตาสีฟ้า หรือผมสีแดงในมนุษย์ แต่จะปรากฏออกมาให้เห็นชัดได้คือต้องมียืนด้อย 2 ข้าง (ตัวอย่างง่าย ๆ คืออย่างที่เราเรียนกันในวิชาชีววิทยา ให้ X เป็นยีนเด่น x เป็นยีนด้อย ถ้าจับคู่กัน Xx คือเป็นพาหะของยีนด้อย ต้องมียีนเป็น xx ลักษณะของยีนด้อยจึงจะปรากฏ)

นั่นหมายความว่า พ่อและแม่ของชีไจ่เป็นพาหะของยีนด้อย Bace2 ทั้งคู่ ทำให้ยีนด้อยถูกส่งต่อมาในตัวชีไจ่ในที่สุด

และเมื่อทีมวิจัยย้อนไปวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บไว้นานกว่า 2 ทศวรรษของตันตัน ก็พบว่า มันมีลักษณะด้อยเหมือนกัน

จากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์แพนด้ายักษ์ขาวดำ 192 ตัวในวงกว้างขึ้น เพื่อยืนยันว่ายีนที่ส่งผลต่อขนสีน้ำตาลคือ Bace2 จริง

เพื่อยืนยันการค้นพบนี้ในอีกขั้นหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ยังได้ใช้เครื่องมือแก้ไขยีนคริสเปิรฉคสไนน์ (CRISPR-Cas9) เพื่อลบลำดับทางพันธุกรรมที่พวกเขาระบุว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการกลายพันธุ์ในยีน Bace2 ในหนูทดลอง 78 ตัว และพบว่าทำให้จำนวนและขนาดของเมลาโนโซมในหนูลดลงจริง ๆ

ศ.เหว่ยกล่าวว่า “สีขนของหนูน็อกเป็นสีน้ำตาลอ่อน มันพิสูจน์ว่า การลบยีนนี้มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนสีขนของหนู เนื่องจากวิถีการสร้างเม็ดสีค่อนข้างคล้ายกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากที่การกลายพันธุ์นี้จะส่งผลต่อสีขนของแพนด้าสีน้ำตาล”

เหว่ยเสริมว่า ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรทำให้เกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม แต่คาดว่าจะต้องเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมเฉพาะของเทือกเขาฉินหลิ่ง ซึ่งมีสภาพอากาศที่แตกต่างจากเสฉวน และเชื่อว่าการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมไม่ได้เป็นผลมาจากการผสมพันธุ์ตามที่เคยสงสัยด้วย

“มีแนวโน้มว่านี่จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติมากกว่าการผสมพันธุ์ การวิเคราะห์เครือญาติของเราบ่งชี้ว่าพ่อแม่ของชีไจ่ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน” เหว่ยกล่าว

เรียบเรียงจาก CNN

เผย “จู๊ด” เมินซบ “เชลซี” เพราะแผนการทำทีมไม่ชัดเจน

จู๊ด เบลลิงแฮม มิดฟิลด์ดาวรุ่ง โบรุสเซีย ดอร์ตมุนด์ ยอดทีมแห่งศึกบุนเดสลีกา เยอรมนี ไม่มีความคิดที่จะย้ายไปค้าแข้งกับ เชลซี พ่อบุญทุ่มแห่งวงการลูกหนังเมืองผู้ดี เนื่องจากมองว่า “สิงห์สำอาง” ภายใต้การบริหารงานของ ท็อดด์ โบห์ลี เจ้าของทีมชาวอเมริกัน ไม่มีแผนการทำทีมที่ชัดเจนคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อต pg

คริสเตียน ฟอล์ค เหยี่ยวข่าวคนดังชาวเยอรมัน รายงานผ่านบทความบนเว็บไซต์ CaughtOffside.com ว่า เบลลิงแฮม และทีมงานจับตาดูความเคลื่อนไหวในรั้ง สแตมฟอร์ด บริดจ์ มาตลอดก่อนที่ เชลซี จะทุ่มเงินคว้าตัว เอ็นโซ เฟร์นานเดซ ห้องเครื่องทีมชาติอาร์เจนตินา ของ เบนฟิกา มาร่วมทัพ และมองว่า ทีมดังแห่งนครลอนดอน ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในการทำทีม

ขณะเดียวกัน ฟอล์ค ยังเผยด้วยว่า ดาวเตะวัย 19 ปี ปรารถนาที่จะย้ายกลับไปเล่นในบ้านเกิดกับ ลิเวอร์พูล และพร้อมจะรอต่อไปอีก 1 ปี หาก “หงส์แดง” ไม่สามารถคว้าตั๋วไปลุย แชมเปี้ยนส์ ลีก ในฤดูกาลหน้าได้สำเร็จ

ฟอล์ค เผยผ่านบทความว่า “เขาดูเหมือนจะมีแผนการที่ชัดเจนมาก ๆ ผมได้ยินมาว่า ก่อนที่ เอ็นโซ เฟร์นานเดซ จะย้ายไปลอนดอน เบลลิงแฮม จับตามองสถานการณ์ที่ เชลซี อยู่ เชลซี สนใจเขา แต่ เบลลิงแฮม มองว่า สโมสรไม่มีแผนการที่ชัดเจน ดังนั้น เขาจึงไม่ได้สนใจที่จะย้ายไปที่นั่น”

“พรีเมียร์ลีก ยังคงเป็นเป้าหมายแรกของ จู๊ด เบลลิงแฮม ผมพูดเสมอว่า ลิเวอร์พูล คือเป้าหมายของเขา แต่ทุกคนรู้ดีว่า ลิเวอร์พูล ทำผลงานได้ไม่ดีนักในตอนนี้ ดังนั้นถ้า ลิเวอร์พูล ไม่ได้ไปเล่นในฟุตบอลสโมสรยุโรป มันก็มีความเป็นไปได้ที่เขาจะอยู่กับ ดอร์ตมุนด์ ต่อไปอีกปี” กูรูลูกหนังชาวเมืองเบียร์ ทิ้งท้าย.

ภาพ REUTERS